ข้อความวิ่ง

ยินดีต้องรับสู่เว็บไซค์ THIPPAWAN PHETBUREE

บทที่ 3


1.     จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
Bit (บิต) ย่อมาจาก binary digit คือลำดับชั้นของฐานข้อมูลที่เล็กที่สุด เป็นเลขฐาน 2 นั้นถูกนำมาใช้ในทางคอมพิวเตอร์ เพราะว่าเลข 0 กับเลข 1 สามารถแทนสถานการณ์ 2 อย่างคือ ปิดและเปิด หรือ ไม่จริงกับจริง ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับระดับแรงดันไฟฟ้าในวงจรของเครื่องมืออิเลคทรอนิกได้พอดี ระบบเลขฐาน 2 มีความสำคัญมาในการคำนวณแบบดิจิตอล

Byte (ไบต์) เป็นหน่วยของข้อมูลที่เป็นเลขฐานสองของ 8 หลัก โดย byte เป็นหน่วยที่คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่แสดงอักษร ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์ต่างๆ byte สามารถเก็บข้อความของบิตที่ต้องการใช้ในหน่วยที่ใหญ่ตามวัตถุประสงค์ของโปรแกรมประยุกต์ (เช่น กลุ่มบิตที่สร้างเป็นภาพสำหรับโปรแกรม เพื่อแสดงภาพหรือข้อความของบิต  ซึ่งเป็นภาษาเครื่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์)

Field (ฟิวด์)   คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักษรหลายๆ ตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย เช่น ฟิลด์ชื่อนักศึกษา ฟิลด์รหัสประจำตัวนักศึกษา ฟิลด์คะแนนแต่ละวิชา เป็นต้น

Record (เรคอร์ด)  คือ รายการของข้อมูลแต่ละรายการประกอบไปด้วยฟิลด์ต่างๆ มารวมกัน เช่น รายการข้อมูลของพนักงานแต่ละคน รายการของสินค้าแต่ละชิ้น รายชื่อของนักศึกษาแต่ละคนแต่ละวิชา เป็นต้น

File (ไฟล์) คือ กลุ่มของเรคคอร์ดที่สัมพันธ์กัน เช่น การเก็บเรคคอร์ดของลูกค้าเป็นไฟล์ ในทางกลับกัน แต่ละเรคคอร์ดจะต้องประกอบด้วยฟิลด์ สำหรับข้อมูลแต่ละชิ้น เช่น ชื่อลูกค้า หมายเลขลูกค้า ที่อยู่ลูกค้าและอื่นๆโดยการแบ่งสารสนเทศในฟิลด์เดียวกันในแต่ะลเรคคอร์ด (ทำให้เคคอร์ดทั้งหมดตรงกัน)
Database (ฐานข้อมูล) คือ ระบบจัดเก็บข้อมูลโดยการนำไฟล์หลายๆ ไฟล์มารวมกัน เรียกว่า ฐานข้อมูล เช่น แฟ้มเก็บข้อมูลทะเบียนประวัตินักศึกษา


2.  จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
-          การประมวลผลข้อมูลแบบ (Batch Processing) คือ การประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ (Operating system) เป็นตัวควบคุม ในการประมวลผลแบบนี้ เราจะต้องรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกเป็นกลุ่มไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้วจึงจัดรวบรวมเป็นรายงาน หรือสรุปผลอีกที วิธีการประมวลผลแบบนี้ทำง่าย ประหยัด และตรงไปตรงมา แต่อาจจะช้าไปบ้าง เพราะต้องรอให้ข้อมูลเรียบร้อยก่อน


-          การประมวลผลแบบเวลาจริง (Real Time Processing) เป็นระบบการประมวลผลข้อมูลที่ทำในทันทีที่ข้อมูลถูกส่งเข้า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาทันทีเพื่อจะได้สั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือควบคุมได้ เช่น การประมวลผลของเครื่องถอนเงินด่วนตามธนาคารต่างๆ (ATM) ซึ่งให้บริการฝากถอน ทำให้ผู้ใช้บริการทราบผลในทันที เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะตรวจสอบให้ทันทีว่า รหัสถูกต้องหรือไม่ มีเงินพอหรือไม่ ฯ ถ้ามีพอ ก็สั่งปฏิบัติการ คือจ่ายเงินให้เลย  การจองตั๋วเครื่องบิน ก็มีลักษณะเป็นแบบทันทีนี้เช่นกัน ส่วนการประมวลผลที่ไม่ต้องทำทันที  เรียกว่า “(batch processing) หมายถึงการประมวลผลที่เป็นไปตามลำดับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น