1. สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร จงเปรียบเทียบ
สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูล (Transmission media) แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable) เป็นสายที่มีราคาถูกทีสุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มี ฉนวนหุ้ม 2 เส้นนำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่ง ข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 male สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
- สายคู่เกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวน จากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง
- สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted-Pair : STP) เป็นสายที่มีปลอกหุ้มอีกรอบ เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก จึงทำให้สายเคเบิลชนิดนี้สามารถใช้ในการเชื่่อม ต่อในระยะไกลได้มากขึ้น แต่ราคาแพงกว่าแบบ UTP
ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว
ข้อดี ข้อเสีย
1. ราคาถูก 1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน 2. ระยะทางจำกัด
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณอีกแบบหนึ่ง จะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน สามารถป้องกันการรบกวน ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ใช้ในระบบโทรทัศน์ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 2-3 mile
ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว
ข้อดี ข้อเสีย
1. ราคาถูก 1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน 2. ระยะทางจำกัด
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยเส้นใยที่นำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองจะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปอีกด้านหนึ่งได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นจำนวนมาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 mile
ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว
ข้อดี ข้อเสีย
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง 1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่เกลียวและโคแอกเชียล
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า 2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก 3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่าสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครื่อข่าย (LAN Topology) แบบใด
แบบดาว (Star
Network) เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาด ใหญ่
(Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง ในการต่อไปนี้
คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ ศูนย์กลางโดยตรงจึงไม่มีปัญหาการแย่ง
การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนองที่รวดเร็วในการส่งข้อมูล แต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์ย่อยๆ)
ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้ว
ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไปยังสถานีอื่นๆ
การควบคุมการรับส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ศูนย์กลางนั้น
จึงเหมาะแก่การนำมาใช้ในองค์กรการศึกษา
ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดี - เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง
- เนื่องจากการรับ-ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์การทั้งหมด จึงทำให้การรับ-ส่งข้อมูลทำได้ง่าย
- หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ
เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน
- การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร
- หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย
ข้อเสีย - เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก
-
หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง
ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที
-
ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา
- เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น